เทคนิคการเปิดหมากรุกไทย

                                        โดย    มิตรสีมา

                                                            ……………………………                                                                 

               

1.4  องค์ประกอบเบื้องต้นการเปิดหมากด้วยม้าโยงขวารูปแบบต่างๆ

                ภาพรวมในการเปิดหมากรุกด้วยรูปม้าโยงขวาแบบต่างๆที่กล่าวแล้วในบทก่อนๆ มีตำแหน่งที่ควรเดินและไม่ควรเดินอยู่บ้างพอสมควร  ซึ่งผู้ที่เล่นหมากรุกใหม่ ต้องจดจำและนำไปใช้เป็นเบื้องต้นก่อน แต่ผู้ที่ประสบการณ์มากแล้ว ก็จะเป็นไปโดยอัตโนมัติ ว่าควรเปิดตัวไหนและรับตัวไหน แต่หลักการหรือพื้นฐานย่อมมาจากหลักการเดียวกันทั้งสิ้น  การเปิดด้วยม้าโยงขวา อาจจะเปิดมากที่สุดไม่เกิน 12 ครั้ง แต่มีบางรูปที่ใช้ตาเดินมากกว่านั้น  ลักษณะการเข้าทำหรือการเอาเปรียบอาจจะเดินแค่ 5-7 ครั้ง เมื่อคู่แข่งเดินพลาดแล้วเราเข้าทำได้เปรียบรูปที่เราจะขึ้นอาจจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพการณ์ เพราะการเล่นหมากรุกสิ่งที่แน่นอนคือความไม่แน่นอน  เพราะผลแพ้ชนะกันขึ้นอยู่กับการทำให้ขุนของอีกฝ่ายจนเท่านั้น ไม่ใช้นับจำนวนหมากที่เหลืออยู่แต่ส่วนใหญ่ฝ่ายที่มีตัวมากกว่าจะเป็นผู้ชนะ

ที่นี้มาดูกันว่า ตัวไหนควรเดินหรือไม่ควรเดินของม้าโยงขวานะครับ

                ตาที่ 1     ฝ่ายขาว

                                ขาวเปิดด้วย ม้า ข1-ง2  เพื่อหวังเป็นม้าขโมยด้วย  หากดำเดินผิดในจังหวะการเดินที่ 1 เช่นกันคือ  1. ม.ข1-ง2    ม.ช8-จ.7   2. ม.ง2-จ4  …………..  ดังจะเห็นได้ว่าม้าขาวที่เดินมาอยู่ในตำแหน่ง จ4 จับเบี้ยดำถึงสองตัวด้วยกันในตำแหน่ง ง6 และ ฉ6 เป็นเหตุให้เป็นรอง หรือ

                                ในตาที่ 1 ขาวจะเปิดด้วย โคน ค.ค1-ค2  ซึ่งเป็นตัวรองลงมา แต่ก็เป็นบางจังหวะเท่านั้นหรือจะเดิน เม็ด จ1-ฉ2 ก็ได้ แต่ไม่เป็นที่นิยมนัก เพราะโคนและเม็ดเป็นหมากที่เข้าทำช้า ไม่เร็วเหมือนม้า

                                สำหรับเบี้ยที่นิยมเดินก่อนม้า ได้แก่เบี้ยในตำแหน่ง จ3-จ4 และ ฉ3-ฉ4 เท่านั้น นอกนั้นไม่นิยม

อาจจะเป็นเพราะจะเสียเปรียบก็เป็นได้ จึงขอให้ผู้ที่มีประสบการณ์ช่วยชี้แนะต่อไปนะครับ

                ตาที่ 1     ฝ่ายดำ

                                ในตาแรกของการขึ้นหมากของฝ่ายดำ เพราะต้องเดินทีหลังขาว  จะว่าเสียเปรียบหรือได้เปรียบก็ไม่ชัดเจนนัก ต้องรับให้เป็นเพราะเป็นฝ่ายที่เปิดหมากทีหลัง

                                เมื่อขาวเปิดด้วยม้า ม.ข1-ง2  ดำควรรับด้วย

                                ตัวที่ดีที่สุด             ได้แก่      โคน        ค.ฉ8-ฉ7

                                รองลงมา               ได้แก่      เบี้ย         บ.ค6-ค5  และ  บ.ง6-ง5

                                ที่ไม่ควรเดินเป็นอย่างยิ่ง ได้แก่        เบี้ย  บ.ข6-ข5 และ บ.ช6-ช5  และม้าทั้งสองตัวของดำ

                ตาที่ 2     ฝ่ายขาว

                                ตาเดินที่ดีที่สุด      ได้แก่      โคน ค1-ค2  เพื่อทำเป็นรูปม้าโยงขวาอันประกอบด้วยโคนในตำแหน่งต่างๆ เช่น ม้าโยงขวาอิทธิฤทธิ์(ค2&ฉ2)  ม้าโยงขวาโคนสุชาติ(ข3)  ม้าโยงขวาโคนสุรการ(ค3)  ม้าโยงขวาโคนขุนพล(ง3)

ม้าโยงขวาโคนก้าวร้าว(ก4)  เป็นต้น และเดินโคนในตำแหน่งนี้เพื่อป้องกันเบี้ยทางขวาของขาวไปในตัวด้วย

                                ตาที่เดินหลอกให้ดำหลงก็มี แต่ส่วนใหญ่จะเดินเบี้ยสองตำแหน่งนี้ คือ  เบี้ยในตำแหน่ง บ.ข3-ข4   และเบี้ย บ.ช3-ช4

                                ตารองลงมา ได้แก่ เดินเบี้ยในตำแหน่ง บ.ฉ3-ฉ4 หรือ บ.จ3-จ4  หรือ เม็ด  ม็.จ1-ฉ2

                                ที่ไม่ควรเดินเป็นอย่างยิ่ง คือ  ม้า ม.ช1-จ2  เพราะจะเสียโอกาสอันดีในการขึ้นม้าโยงขวา

และก็เป็นแต้มเล่นที่ต้องมีประสบการณ์สูงๆ จึงจะเล่นรูปแบบนี้(ม้าเทียม) ได้ประสบผลสำเร็จ

                ตาที่ 2     ฝ่ายดำ

                                เมื่อขาวเดินในจังหวะตาขึ้นที่ 2 ด้วย ค.ค1-ค2  ดำควรจะรับด้วย

                                                ตัวที่ดีที่สุด             ได้แก่                      ม.ช8-จ7

                                เมื่อขาวเดินในจังหวะตาขึ้นที่ 2  ด้วยเบี้ย ข3-ข4  ดำควรจะรับด้วย บ.ค6-ค5

                                เมื่อขาวเดินในจังหวะตาขึ้นที่ 2  ด้วยเบี้ย ช3-ช4  ดำควรจะรับด้วย บ ฉ.6-ฉ5 เพื่อเปิดรูปด้วยม้ามังกร (ม้าสองตัวอยู่ในตำแหน่ง  ค.6  และ ฉ.6)   หรือจะรับด้วย ม.ช8-จ7 ก็ได้

องค์ประกอบเบื้องต้นการเปิดหมากด้วยม้าโยงขวารูปแบบต่างๆ ตอนที่2

ตาที่ 3 ฝ่ายขาว

ตาเดินนี้ขาวมีอยู่หลายตัวด้วยกันดังนี้คือ

เม็ด ม็.จ1-ฉ2
เบี้ย บ.ฉ3-ฉ4
เบี้ย บ.จ3-จ4
โคน ค.ฉ1-จ2

ตาเดินเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างเพื่อให้ดูในจังหวะเปิดเกมส์เท่านั้น ล้วนเป็นตำแหน่งที่ขาวจะเดินได้และเป็นการไม่เสียเปรียบเลย อยู่ที่ประสบการณ์ของผู้เล่นเท่านั้นว่า จะเดินตัวเหล่านี้ขึ้นไปเพื่อหวังเข้าทำในตำแหน่งอะไรเป็นหลักใหญ่

 ตาที่ 3 ฝ่ายดำ

ฝ่ายดำไม่มีตาเลือกมากนักเมื่อขาวเปิดหมากในตาที่ 3 ต้องรับตามสภาพเป็นจริง หรือถ้าแหกไปก็จะเสียเปรียบขาวได้ แต่ไม่ได้ห้ามไว้ เพราะเป็นความคิดเห็นของผู้เล่นเป็นใหญ่ มาดูกันว่าเมื่อขาวเดินหมากในตำแหน่งต่างๆ ดำจะรับด้วยอะไร

ขาวเดิน เม็ด จ1-ฉ2 ดำรับด้วย เม็ด ง8-ค7
ขาวเดิน เบี้ย ฉ3-ฉ4 ดำรับด้วยเบี้ย ค6-ค5
ขาวเดิน เบี้ย จ3-จ4 ดำรับด้วยเบี้ย ง5-ง6
ขาวเดิน โคน ฉ1-จ2 ดำรับด้วยเม็ด ง8-ค7   

ที่ไม่รับด้วย โคน ค8-ง7 เพราะจะเป็นรูปที่เหมือนขาว โบราณถือว่า รูปเหมือนกันแพ้ขาว แต่ตามความคิดเห็นของผู้เขียนคิดว่า น่าจะอยู่ในขั้นแปรขบวนกลางกระดานมากกว่า เพราะความคิดเห็นท่านใดคม และจัดกว่ากันก็จะเป็นผู้ได้เปรียบชัดเจน ไม่ค่อยจะเห็นด้วยกับความคิดนี้นัก หรือเพื่อนนักโขกท่านใดมีความคิดเห็นเป็นอย่างอื่นก็ชี้แนะด้วยนะครับ เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อไปในภาคหน้า

ตาที่ 4 ฝ่ายขาว

 
ในกรณีในตาที่ 3 ขาวเดิน เม็ด จ1-ฉ2 นะครับ ขาวก็จะมีตัวเดินอยู่หลายตัวเช่นเดิม ได้แก่

 เบี้ย ฉ3-ฉ4 เพื่อขึ้นม้าตามไปในตำแหน่ง ฉ3
เบี้ย จ3-จ4 เพื่อขึ้นเม็ดตามไปในตำแหน่ง จ3
เบี้ย ข3-ข4 เพื่อหลอกให้ดำหลงเดินเบี้ยที่ ก5 และทำโคนอิทธิฤทธิ์,โคนก้าวร้าว
เบี้ย ช3-ช4 เพื่อหลอกให้ดำหลงเดินเบี้ยที่ ญ 5 และทำโคนช้าง
เบี้ย ค3-ค4 เพื่อทำโคนเป็นโคนสุชาติ โคนสุรการ
เบี้ย ง3-ง4 เพื่อทำโคนเป็น โคนขุนพล
เบี้ย ญ3-ญ4 เพื่อทำเบี้ยก้ามปู

ตาที่ 4 ฝ่ายดำ


ในตาเดินนี้ เมื่อขาวเดินหมากในตำแหน่งอะไรในตาที่ 3 ดำก็ต้องรับตามความเป็นจริง ได้แก่

ขาวเดิน เบี้ย ฉ3-ฉ4 ดำรับด้วย เบี้ย ช6-ช5 เพื่อป้องกันขาวทำเบี้ยก้ามปูหรือ เบี้ย ค6-ค5 เพื่อขึ้นม้าตามไปที่ ค6 ป้องกันขาวฝังเบี้ยสูงที่ จ5 แล้วแต่จะเลือกเล่นครับ
ขาวเดิน เบี้ย จ3-จ4 ดำรับด้วย เบี้ย ง6-ง5
ขาวเดิน เบี้ย ข3-ข4 ดำรับด้วย เบี้ย ค6-ค5
ขาวเดิน เบี้ย ช3-ช4 ดำรับด้วย เบี้ย ช6-ช5
ขาวเดิน เบี้ย ค3-ค4 ดำรับด้วย เบี้ย ค6-ค5
ขาวเดิน เบี้ย ง3-ง4 ดำรับด้วย เบี้ย ง6-ง5
ขาวเดิน เบี้ย ญ3-ญ4 ดำรับด้วย เบี้ย ญ6-ญ5

ในลักษณะแบบนี้ถึงขาวจะเปิดด้วยเบี้ยในตำแหน่งต่างๆ ดำรับยันไว้ที่ตำแหน่ง ช 5 , ค5 , ง5 ญ5
อิอิอิ เป็นตัวที่ผู้เขียนเห็นว่าเป็นตำแหน่งที่ทำให้ขาวเดินยากในตาต่อไป

องค์ประกอบเบื้องต้นการเปิดหมากด้วยม้าโยงขวารูปแบบต่างๆ ตอนที่ 3

ตาที่ 5     ฝ่ายขาว

ในกรณีในตาที่ 4 ขาวเดิน เบี้ย ฉ3-ฉ4  ก็จะมีตัวในตำแหน่งต่อไปที่เดินได้และเหมาะสมดังนี้

        ม้า ฉ1-ฉ3    เพื่อป้องกันทางด้านปีกขาวของตัวเองและเข้าทำเมื่อมีโอกาส

        เบี้ย จ3-จ4    เพื่อขึ้นเม็ดตามไปที่ จ3 หรือหลอกดำบ้างเป็นบางโอกาส

        เบี้ย ข3-ข4    เพื่อหลอกให้ดำหลงเดินเบี้ยที่ ก5 และทำโคนอิทธิฤทธิ์,โคนก้าวร้าว

         เบี้ย ช3-ช4   เพื่อหลอกให้ดำหลงเดินเบี้ยที่  ญ 5 และทำโคนช้าง

         เบี้ย ค3-ค4   เพื่อทำโคนเป็นโคนสุชาติ  โคนสุรการ

         เบี้ย ง3-ง4    เพื่อทำโคนเป็น โคนขุนพล

         เบี้ย ญ3-ญ4  เพื่อทำเบี้ยก้ามปู ในกรณีที่ตาที่ 4 ดำไม่เดินเบี้ย ช5-ช6 มารับขาวในตาที่3 ที่ขาวเดินเบี้ย ฉ3-ฉ4 แล้วในตาที่ 3

 ตาที่ 5     ฝ่ายดำ  

 ในตาเดินนี้ เมื่อขาวเดินหมากในตำแหน่งอะไรในตาที่ 4 ดำก็ต้องรับตามความเป็นจริง ได้แก่

         ขาวเดิน    ม้า  ฉ1-ฉ3   ดำรับด้วย  ม้า ข8-ค6 ในกรณีในตาที่ 4 ดำเดินเบี้ยที่

ค6-ค5 ก่อนแล้ว หรือถ้าดำเดินเบี้ย ช5-ช6  ในตาที่ 4 ก็ควรรับขาวตานี้ด้วย เบี้ย ค6-ค5 ในตานี้

         ขาวเดิน   เบี้ย จ3-จ4    ดำรับด้วย    เบี้ย ง6-ง5

         ขาวเดิน   เบี้ย ข3-ข4    ดำรับด้วย    เบี้ย ค6-ค5   ในกรณีตาที่ 4 ดำเดินเบี้ย

ช6-ช5  เพื่อรับเบี้ยขาวที่ขึ้นมาตำแหน่ง  ฉ3-ฉ4 ในตาก่อนนี้แล้ว ในกรณีเดียวกันถ้าดำเดินเบี้ย ค3-ค4 ในตาที่ 4 ก็ควรเดินเบี้ย ช6-ช5 รับขาวในตานี้เช่นกัน

         ขาวเดิน   เบี้ย ญ3-ญ4   ดำรับด้วย  เบี้ย ญ6-ญ5  ในกรณีที่ดำเดินเบี้ย ค6-ค5 ในตาที่4 แล้ว 

ตาที่ 6     ฝ่ายขาว

ในกรณีที่ดำรับด้วยม้า ข8-ค6 หลังจากขาวเดินม้าไป ฉ1-ฉ3 แล้วในตาที่ 5 ทำให้ขาวไม่มีโอกาสเลือกมากนักสำหรับตัวที่จะเดินในตำแหน่งที่เหมาะสมต่อ เป็นลำดับดังนี้

         เบี้ย  ข3-ข4  เพื่อป้องกันดำเดินเบี้ยที่ ก6-ก5 ทำเป็นรูปเบี้ยก้ามปูและทำโคนขึ้น

         เบี้ย จ3-จ4   เพื่อหลอกดำทำเบี้ยสูง และขึ้นเม็ดตามไปที่ จ3

                 ส่วนการขึ้นเบี้ยในตำแหน่ง  ญ3-ญ4 เพื่อทำเบี้ยก้ามปู  ในรูปลักษณะเช่นนี้ ก็ไม่ค่อยนิยมเดินกันครับเพราะจะทำให้เสียเปรียบดำได้

 ตาที่ 6     ฝ่ายดำ

 ในตาเดินนี้ เมื่อขาวเดินหมากในตำแหน่งอะไร  ดำก็ต้องรับไปตามสภาพความเป็นจริง ดังนี้

           ขาวเดินเบี้ย ข3-ข4    ดำรับด้วย    เบี้ย  ช6-ช5

           ขาวเดินเบี้ย จ3-จ4    ดำรับด้วย    1.เบี้ย  ง6-ง5  2. เบี้ย ก6-ก5  3. เบี้ย ช6-ช5

     อธิบายดังนี้คือ

    ดำรับด้วยเบี้ย ง6-ง5  เพื่อหลอกให้ขาวเดินเบี้ยสูงที่ จ 5  หรือขึ้นเม็ดตามตำแหน่ง  ง5  ในโอกาสต่อไป

    ดำรับด้วยเบี้ย ก6-ก5  เพื่อทำเป็นเบี้ยก้ามปูก่อนขาว แต่ก็ไม่เป็นที่นิยมนัก เพราะเดินไปแล้วเสียเปรียบขาวเล็กน้อย ในกรณีที่ขาวทำจัดมากๆ

    ดำรับด้วยเบี้ย ช6-ช5  เป็นรูปที่เสมอกัน เพื่อป้องกันไม่ให้ขาวทำเบี้ยก้ามปู เช่นกัน

องค์ประกอบเบื้องต้นการเปิดหมากด้วยม้าโยงขวารูปแบบต่างๆ ตอนที่ 4

ตาที่ 7    ฝ่ายขาว

ในกรณีที่ดำรับด้วยเบี้ย ช6-ช5 หลังจากขาวเดินเบี้ยไป ข3-ข4  แล้วในตาที่ 6 ทำให้ขาวไม่มีโอกาสเลือกมากนักสำหรับตัวที่จะเดินในตำแหน่งที่เหมาะสมต่อ เป็นลำดับดังนี้

       เบี้ย  จ3-จ4   เพื่อเป้าหมายขึ้นเม็ดตามไปในตำแหน่ง จ3  หรือหลอกดำบ้างในกรณีที่ดำเดินเบี้ยสูงผิดตำแหน่ง

       โคน ค2-ข3  เพื่อเป้าหมายทำเป็นโคนก้าวร้าว และเบี้ยบ่อพรางในโอกาสต่อไป

       โคน ฉ1-จ2  เพื่อทำเป็นรูปม้าโยงขวาบันลือโลก  โคนสุชาติ  โคนสุรการต่อไป

ตาที่ 7     ฝ่ายดำ

            ในตาเดินนี้ เมื่อขาวเดินหมากในตำแหน่งอะไร ดำก็ต้องรับตามความเป็นจริง ไม่ควรฝืนรูป ดังนี้

              ขาวเดินเบี้ย      จ3-จ4  ดำรับด้วย    เบี้ย  ง6-ง5

              ขาวเดินโคน     ค2-ข3   ดำรับด้วย   เบี้ย  ง6-ง5

              ขาวเดินโคน     ฉ1-จ2   ดำรับด้วย   เบี้ย  ง6-ง5 หรือ โคน  ค.ฉ7-ช6 (รอจังหวะแต้มสวน)

ตาที่ 8     ฝ่ายขาว

              ในกรณีที่ดำรับด้วยเบี้ย ง6-ง5 หลังจากขาวเดินเบี้ยไป จ3-จ4  แล้วในตาที่ 7 ทำให้ขาวไม่มีโอกาสเลือกมากนักสำหรับตัวที่จะเดินในตำแหน่งที่เหมาะสมต่อ เป็นลำดับดังนี้

               เม็ด  ฉ2-จ3      เพื่อป้องกันการทำเบี้ยสูงของดำ

              โคน  ค2-ข3      เพื่อทำโคนก้าวร้าว หรือแต้มเบี้ยบ่อพราง

              โคน  ฉ1-จ2      เพื่อหลอกให้ดำเดินเบี้ยสูงในกรณีที่ดำเดินเบี้ยที่ ง6-ง5  แล้ว เผลอเดินเบี้ย ง5-ง4 เพื่อหวังได้เบี้ยสูง  แต้มนี้เป็นแต้มที่ละเอียดอยู่พอสมควร ถ้าเป็นดำควรระวังไว้ให้ดีๆ อย่าเห็นแก่กินและทางเข้าทำไวเกินไปในลักษณะตัวยังไม่พร้อม เพราะเป็นเหตุให้ถึงแพ้ได้เลยทีเดียว

ตาที่ 8     ฝ่ายดำ

               ขาวเดินเม็ด  ฉ2-จ3    ดำรับด้วย   เม็ด  ค7-ง6

               ขาวเดินโคน  ค2-ข3   ดำรับด้วย    เม็ด  ค7-ง6

                ขาวเดินโคน  ฉ1-จ2   ดำก็รับด้วย  เม็ด  ค7-ง6 

                ตานี้ดูแล้วดำไม่มีโอกาสเดินตัวอื่นๆ เลย  เพราะมีจุดที่เปราะบางมากถ้าดำเดินหมากตัวอื่น

ตาที่ 9     ฝ่ายขาว

              ตานี้ขาวมีตาเดินได้หลายตำแหน่ง เพราะดำรับในตาที่แล้ว ด้วย เม็ด ค7 -ง6 เพียงตัวเดียว ขาวเดินในตำแหน่งที่เหมาะสมได้ดังนี้

              โคน   ฉ1-จ2   เพื่อทำโคนเป็นรูปม้าโยงขวาบันลือโลก 

               โคน  ค2-ข3   เพื่อทำโคนก้าวร้าว หรือแต้มเบี้ยบ่อพราง(ค4)

ตาที่ 9     ฝ่ายดำ

               ขาวเดินโคน   ฉ1-จ2     ดำรับด้วย     โคน  ค8-ค7  * รูปม้าโยงขวามาตรฐาน 

               ขาวเดินโคน    ค2-ข3     ดำรับด้วย     โคน  ฉ7-ช6  รูปม้าโยงขวาอิทธิฤทธิ์

องค์ประกอบเบื้องต้นการเปิดหมาก(5)ตอนจบ

ส.ค. 20th, 2009 | Posted by admin

เทคนิคการเปิดหมากรุกไทย
                   โดย มิตรสีมา

องค์ประกอบเบื้องต้นการเปิดหมากด้วยม้าโยงขวารูปแบบต่างๆ ตอนที่ 5(ตอนจบ)

ตาที่ 10 ฝ่ายขาว

ในกรณีที่ดำรับด้วยโคน ค8-ค7 หรือด้วยโคน ฉ7-ช6 หลังจากขาวเดิน โคนไป ฉ1-จ2 แล้วในตาที่ 9 ทำให้ขาวมีโอกาสเข้าทำไม่หลากหลายนัก หรือจะเรียกว่าบังคับขาวเดินก็ได้ ได้แก่

โคน ค2-ข3 เพื่อทำโคนก้าวร้าวหรือแต้มเบี้ยบ่อพรางในโอกาสต่อไป

ตาที่ 10 ฝ่ายดำ

เป็นโอกาสอันดีที่ดำจะเลือกรับหรือบุกขาวก่อนในแต้มนี้ แต่ถ้าดำคิดบุกเข้าทำขาว ก็ไม่ดีนัก เพราะถ้าถูกตีโต้มาในจังหวะนี้ก็อาจจะทำให้เสียเปรียบได้ จึงเดินตามขาวไปก่อน เพื่อรอจังหวะเข้าทำ

ขาวเดิน โคน ค2-ข3 ดำรับด้วย โคน ฉ7-ช6 รูปม้าโยงขวาอิทธิฤทธิ์

ตาที่ 11 ฝ่ายขาว

ในตาที่ 11 นี้ เป็นจุดเริ่มต้นของการแปรขบวนซึ่งขาวมีโอกาสเลือกเข้าทำดำก่อน แต่อาจจะรอจังหวะอีกต่อไป เพื่อดูหนทางของดำก่อนก็ได้ (มีทั้งรุกและรับในตานี้เลยที่เดียว) มาชมต่อกันครับ ว่าขาวจะทำอย่างไรต่อไป

ขุน ง1-ค2 เพื่อดูดำก่อนว่าจะเดินรับด้วยอะไร เพื่อหาทางเข้าทำในโอกาสต่อไป *

เบี้ย ก3-ก4 เพื่อทำเบี้ยสูงหน้าม้า หรือให้ได้เปรียบเบี้ยนอก-ใน (เบี้ยคู่ริม)

เบี้ย ค3-ค4 เพื่อทำแต้มเบี้ยบ่อพราง

โคน ข3-ก4 เพื่อทำโคนก้าวร้าวบุกทางปีกซ้ายของดำ*

ตาที่ 11 ฝ่ายดำ

ในตานี้ดำก็แปรขบวนได้เช่นกันกับขาว ว่าจะเลือกรับหรือเข้าทำ แต่ส่วนใหญ่จะรออีกฝ่ายก่อนว่าจะเข้าทำหรือรับ เพื่อหาจังหวะตีโต้ให้ได้เปรียบขาวที่สุด ดังนี้ คือ

1. ขาวเดินขุน ง1-ค2 ดำรับด้วย … [1) ขุน จ8 -ง7 ,2)ขุน จ8-ฉ7 ,3) เบี้ย ญ6-ญ5 ,4) โคน ช6 ญ5 และ 5) เบี้ย ฉ6-ฉ5] มีจุดประสงค์หรือเป้าหมายในการเดินหมากในแต่ละตำแหน่งดังนี้

1) ขุน จ8 ไป ง7 และ
2) ขุน จ8 ไป ฉ7 ทั้งสองตานี้เพื่อดูว่าขาวจะเข้าทำด้วยอะไรเพื่อตีโต้หรือป้องกัน
3) เบี้ย ญ6-ญ5 เพื่อการโยนหินถามทางว่า ขาวจะเอาเบี้ยในตำแหน่ง ช 4 กินตอบหรือเปล่า และอีกอย่างเพื่อหาทางเอาเปรียบเบี้ยนอกใน หรือเบี้ยสูงหน้าม้าในตำแหน่ง ช4
4) โคน ช6-ญ5 เพื่อทำโคนก้าวร้าวบุกทางปีกขวาของขาว
5) เบี้ย ฉ6-ฉ5 เพื่อทำแต้มเบี้ยบ่อพราง

2. ขาวเดินเบี้ย ก3-ก4 ดำรับด้วย การกินตัดเบี้ยขาวในตำแหน่ง ข4 ดังนี้

ก3-ก4 ดำ ค5Xข4 ถ้าขาวเอาโคนกินตอบ ดำก็ไล่ด้วยเม็ด โคนขาวต้องหนีไป ก3 และถ้าขาวนำเบี้ยในตำแหน่ง ค3 กินตอบโต้ดำ ขาวก็จะเป็นรองดำนิดหน่อย

3. ขาวเดินเบี้ย ค3-ค4 ดำรับด้วย 1) เบี้ย ง5-ง4 , 2) เบี้ย ง5Xจ4
ที่ดำรับขาวเช่นนั้นมีจุดประสงค์ดังนี้ คือ

1) เบี้ย ง5 – ง4 เพื่อตัดเม็ดขาว แต่ขาวก็มีแต้มเดินเข้าทำต่อไป แต่ก็เสมอกันในแต้มนี้
2) เบี้ย ง5Xจ4 เพื่อทำทางขึ้นทำขาวบ้าง แต่แต้มนี้ก็เสมอกันในที่สุด
ที่ไม่ควรเดินของดำในแต้มนี้ซึ่งถ้าดำเดินแล้วอาจจะเป็นเหตุให้แพ้เอาง่ายๆ คือ  เบี้ย ง5X ค4
ขาวเดิน โคน ข3-ก4 ดำอาจรับด้วย เบี้ย ข6-ข5

ในตาที่ 12 นั้น ก็เหมือนๆกับตาที่ 11 เพราะถ้าขึ้นกันทั้งสองฝ่ายแล้ว ก็จะมีรูปเข้าทำเหมือนตา 11 ทั้งสองฝ่าย ยกเว้นจะนำเรือเข้าเป็นตัวประกอบอีก ก็จะมีแต้มเล่นต่อไปนะครับ

การขึ้นรูปหมากด้วยม้าโยงขวาพอสรุปได้ก็มีเพียงเท่านี้ แต่รูปการขึ้นจะเป็นกฎเกณฑ์ตายตัวก็หามิได้ เพราะการเล่นหมากรุก ย่อมขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้เล่นเป็นใหญ่ ว่าตาใดเหมาะสมที่สุด จึงเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา (อนึ่งจุดประสงค์ของบทความเรื่องนี้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงลักษณะจังหวะการขึ้นหมากเพื่อจัดขบวนทัพ มิได้มุ่งหมายให้เอาแพ้-ชนะกันตั้งแต่ต้นกระดาน ซึ่งนักหมากรุกทุกท่านควรจะยอมรับความจริงที่ว่า ต้องเล่นไปตามสภาพการณ์ปัจจุบัน โดยคำนึงถึงหลักการเป็นสำคัญ) ส่วนตาที่ 12-13 และ14 เป็นต้นไป เป็นการแปรรูปขบวนเข้าทำกันทั้งสองฝ่าย ซึ่งมีรูปเยอะมาก ถ้าอยากชมต่อ ก็เสนอเข้ามาก็แล้วกันนะครับ

รูปประกอบจังหวะการเปิดหมากม้าโยงขวาครับ

คลิกชม