การได้เปรียบเสียเปรียบ 2

ลักษณะที่เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ
*โครงสร้างหน้าเบี้ย
*ตำแหน่งหมากใหญ่
*ที่อยู่ขุน
*วิธีการเดิน(รูปแบบการเดิน และกลยุทธ)
*จังหวะ และลำดับการเดินตัวก่อนหลัง ที่ถูกต้อง
*รูปแบบที่ครงกับกลยุทธที่มีแนวปฏิบัติแน่นอน(รูปหมาก กลหมาก)
--------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งหมากใหญ่ที่ดี
*แท่น
*โพรงและโพรงกระรอก
*บ่อ
*ยึดตำแหน่งจ้องจู่โจม
*คลองเรือ
*เรือกดขุนหรือหมากอื่น
---------------------------------------------------------------------------------
*แท่น

-ม้าดำที่ตำแหน่ง ค5 มีลักษณะการวางบนเบี้ยขาว
-ลักษณะการวางแบบนี้ ฝ่ายขาวจะไม่สามารถไล่ม้าดำตัวนี้ง่ายๆ นอกจากยอมใช้หมากใหญ่มาแลกเบี้ยดำ
-นอกจากนี้ม้าดำอาจสลับให้โคนมายืนตำแหน่งแทนได้
-ดังนั้นตำแหน่ง ค5 ถือว่าเป็นแท่นม้าแท่นโคนของหมากดำ
--------------------

-รูปข้างบนนี้แสดงลักษณะแท่นม้าดำที่ ข5
-นอกจากนี้ยังมีตำแหน่งที่สามารถสร้างแท่นม้าแท่นโคนที่ตำแหน่ง ฉ5 อีกตำแหน่งหนึ่ง
-แนวเดินโคนจากตำแหน่ง ฉ7 ไปอยู่ที ฉ5 เขาเรียกว่า "ทางโคน"
--------------------

-แสดงแท่นม้า แท่นโคน และทางโคนอีกรูปหนึ่งครับ
--------------------

-ฝ่ายดำมีแท่นม้าทางโคนที่ดี จึงได้เปรียบเพราะมีช่องทางโจมตีมากกว่า ฝ่ายขาวก็มีโอกาสโจมตีนะครับ เพียงแต่ช่องทางมีน้อยกว่า
-จากผลของแท่นม้าทางโคนดังกล่าว ดำสามารถเลือกโจมตีขาวได้หลายวิธี ซึ่งอยู่ที่ความเห็นของดำ ว่าฝ่ายตัวเองพร้อม และปลอดภัยหรือเปล่าเมื่อโจมตี
-ตัวอย่างทางเลือกเช่น
1.ใช้ม้ากินสองโคนเบี้ย เป็นการโจมตีย่อย หรือ..
2.ใช้เรือกดม้าขาวและขุนขาว เพื่อกินม้าหรือกินเม็ด เป็นการโจมตีใหญ่ต่อขุนโดยตรง แต่ดำต้องรักษาความปลอดภัยขุนตัวเองใด้ดี หรือ..
3.เดินขุนดำหนีตากด เพื่อหาความปลอดภัยก่อน แต่ทำให้โอกาสได้โจมตีช้าลงไป อันนี้ต้องฝึกการดูจังหวะให้ดีครับ
4.ดำอย่าเผลอเอาเรือ ญ8 กินเบี้ยขาว ญ3 จะโดนรุกฆาตกินเรือเอาตอนหลัง
-----รูปที่แสดง เน้นการมองและรู้จักคำว่า"แท่น" ไม่ได้เน้นรูปแบบการโจมตีนะครับ
-"แท่นม้าแท่นโคน"คือตำแหน่งหมากใหญ่ที่ได้เปรียบ (แต่ไม่ได้หมายความว่าจะได้ชนะแน่นอน อย่าดีใจจนเดินผิดพลาดนะครับ)
--------------------------------------------------------------------------------
*โพรงและโพรงกระรอก
-"โพรง"สื่อความหมายถึงช่องทางเดินที่ตัวหมากสามารถเดินสูงขึ้นไปได้สะดวก
-"โพรงกระรอก"สื่อความหมายถึงช่องทางเดินที่หมากสามารถเดินสูงขึ้นไป และเดินย้อนกลับได้สะดวก และยังสลับตัวหมากไปทดแทนตำแหน่งกันได้ตามใจ และตามกลยุทธที่ต้องการ
--------------------

-รูปข้างบนแสดงโพรงเม็ดที่ ง4 และ ฉ4 สังเกตุรูปแบบที่เรียกว่า"โพรง"ไว้ก่อนนะครับ
-ดำยังสามารถสร้างแท่นม้าที่ ง6 ได้ด้วย...แต่เป็นแท่นม้าในตำแหน่งต่ำ อำนาจการกดดันอาจไม่มากเท่าที่ควร
--------------------

-รูปที่สองแสดงหน้าเบี้ยฝ่ายดำ ตั้งแต่ ก ถึง ง ซึ่งแตกเป็นโพรง ทำให้โคนขาว เม็ดขาว และแม้แต่ม้าขาว สลับไปยืนตำแหน่งได้
-ดังนั้น หน้าเบี้ยของดำเป็นโพรงกระรอก
--------------------------------------------------------------------------------
*บ่อ
-"บ่อ"สื่อความหมายการฝังหมากคล้ายเบี้ยสูง แต่เป็นการฝังสูงของตัวหมากใหญ่(เม็ด โคน...หรือม้า)
-รูแบบบ่อ จะมองคล้ายโพรง แต่บ่อจะมีการยันกับเบี้ยของอีกฝ่าย(เปรียบคล้ายก้นบ่อ) ส่วนโพรงมองเป็นช่องและแนวเดิน

--------------------

-รูปข้างบนแสดงบ่อที่ ง4 ส่วนที่ จ3 ถูกมองว่าเป็นโพรง
-ที่ จ5 สามารถเป็นแท่นของม้าและโคนของฝ่ายดำ
-ลักษณะนี้ ฝ่ายขาวเสียเปรียบ
--------------------

-เช่นกันที่ ง4 เป็นบ่อของเม็ดดำ
--------------------

-รูปนี้ไม่เกี่ยวกับบ่อโพรง แต่อยากให้ฝึกคิดแนวเดินตัว
-ให้ดู บริเวณกลางกระดานในแนว 4 แนว5 และแนว6

-ถ้าฝ่ายขาวได้เดิน จะเห็นได้ว่าเสียเปรียบทุกตัวเดิน เพราะจะทำให้หน้าเบี้ยตัวเองเป็นแท่นและโพรง ซึ่งฝ่ายดำจะบุกยึดและใช้เป็นฐานส่งกำลังเข้าโจมตีต่อไป ดังนั้นขาวอาจพิจารณาตัวเดินในตำแหน่งอื่น ที่ไม่ใช่บริเวณดังกล่าว เพราะแก้ไขได้ยาก สู้บีบดำให้พะวงที่อื่นอาจดีกว่า

-สำหรับฝ่ายดำ ตอนนี้สามารถสร้างแท่นม้า โคนได้แล้ว และควรรักษาแท่นไว้เพื่อเป็นฐานในการโจมตี การเดินหรือการกินเบี้ยและตัดเบี้ยในบริเวณนี้ ต้องพิจารณาให้ดี เพราะอาจสูญเสียแท่นที่สวยงามไป ควรยึดถือคำว่า"ตำแหน่งหมากใหญ่ที่ดี มีคุณค่ามากกว่าโครงสร้างเบี้ย" (ถึงแม้บางครั้งโครงสร้างเบี้ย อาจดีกว่า แต่เป็นส่วนน้อยที่พบเจอแบบนั้น
--------------------------------------------------------------------------------
*ยึดตำแหน่งจ้องจู่โจม
-"ยึดตำแหน่งจ้องจู่โจม"สื่อความหมายถึงการยึดตำแหน่งสูงของหมากตัวใหญ่ แฝงการคุกคามกดดัน มีแนวโน้มสามารถก่อการดี โจมตีได้ตลอดเวลา หรือแฝงนัยที่จะทำร้าย แต่ไม่ชัดเจน หรือเห็นไม่ชัด การใช้คำว่ายึดตำแหน่งจ้องจู่โจม แสดงว่าการยึดตำแหน่งจะไม่ถาวร หากอีกฝ่ายนำหมากมาไล่ ก็ต้องหนี หรือหาตำแหน่งใหม่
-"แท่น โพรง บ่อ"คือการยึดตำแหน่งจ้องจู่โจมนั่นเอง แต่การยึดตำแหน่งค่อนข้างจะถาวร หากอีกฝ่ายจะไล่หรือทำลายลักษณะดังกล่าว จะต้องใช้หมากที่มากกว่า หรือ แลกกับความเสียเปรียบแบบอื่นที่เสียเปรียบมากขึ้น จึงจะทำลายได้

-การยึดตำแหน่งจ้องจู่โจมนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นม้า เพราะเคลื่อนตัว บุกถอย และเปลี่ยนที่อยู่ได้ไว ทำให้ระวังยาก
-ดังนั้นเมื่อมีโอกาสก็ควรส่งม้าขึ้นไป ยึดตำแหน่งจ้องจู่โจม
-และถ้าฝ่ายตรงข้ามส่งม้ามายึดตำแหน่งดังกล่าว ให้ระวัง หมั่นสังเกตุ หรือไล่ไปเสีย
-รูปข้างล่างนำมาจากเกมที่เล่นใน Thaibg.com ครับ

-รูปข้างบน ม้าดำที่ ญ5 ยึดตำแหน่งจ้องจู่โจม จะเห็นว่าไม่มีแท่นมีโพรง แต่ม้าดำขอยืนไว้ก่อน และตำแหน่งนี้ขาวไล่ม้าดำออกไปก็ยากพอควร
--------------------

รูปที่สองนี้ ม้าขาว ฉ4 ยึดตำแหน่งจ้องจู่โจม
-ซึ่งในเกมที่เล่นจริง ปรากฏว่าม้าตัวนี้ ได้รุกฆาตกินแลกเรือเสียด้วย ทำให้ดำเริ่มเสียเปรียบถึงแพ้ในที่สุด
--------------------

-ม้าขาว จ4 ยืนเฉยๆหลังจากกินแลกเบี้ย ไม่มีแท่น ไม่มีโพรง แต่ถ้าไม่ไล่ ก็ไม่กลับ ยืนจังก้าจ้องหาโอกาสอยู่ตรงนั้นไปก่อน
--------------------

-ม้าขาว ค4 เตรียมรุกฆาตแลกกินเรือ
-ถ้ายังไม่ได้รุกฆาต ก็จะยืนรอไปก่อน แถมยังวางแผนจะเอาเรือกดขุนดำ เพิ่มการกดดันอีกแรงหนึ่ง
--------------------------------------------------------------------------------
*คลองเรือ
-"คลองเรือ"ในการเล่นหมากรุกไทบ จะหมายถึงความสะดวกในการเดินหมากเรือ
ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้คำว่า"คลองเรือ" เมื่อเรือสามารถเดินได้ตามยาวของช่องได้ตลอด ไม่ว่าจะด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้าน

-คลองเรือมีสองแนว แนวตั้ง และแนวนอน มักใช้อักษรประจำช่องเรียกเช่น คลองเรือ ก,คลองเรือ ข,คลองเรือ 6,คลองเรือ7

-การเล่นในขณะที่ตัวหมากยังมากอยู่
*คลองเรือแนวตั้งจะยึดครองได้ง่ายกว่า
*คลองแนวนอนจะมีผลกดดันการเดินได้มากกว่า

-ในช่วงท้ายเกมที่ตัวหมากไม่มาก
*คลองเรือทั้งแนวตั้งหรือแนวนอน จะต่างกันไม่มาก เพราะเน้นการบังคับการเดินขุนให้แคบและติดขอบกระดาน

แต่โดยทั่วไป
-ในแนวนอน คลองเรือ 7 จะสำคํญ และทำให้ได้เปรียบมากที่สุด รองลงมาคือ คลองเรือ 6
-ในแนวตั้ง คลองเรือ ก,คลองเรือ ข,คลองเรือ ค จะมีคุณค่ามาก



สองรูปข้างบน แสดงถึงคลองเรือที่ฝ่ายดำจับจองยึดครองได้
--------------------

-รูปนี้ขาวได้คลองเรือ ช และมีบ่อเบี้ย ทางโคนที่ จ5 ฉ5
- ดำได้คลองเรือ ญ แต่ค่อนข้างไม่มีประโยชน์
-การป้องกันตัว และทางบุกหมากขาวดีกว่า
--------------------------------------------------------------------------------
*เรือกดขุนหรือหมากอื่น

-รูปข้างบน ฝ่ายขาวเดินเรือจาก ก1-ฉ1 กดขุนฝ่ายดำ ตาต่อไปฝ่ายดำได้เดิน
-จะเห็นว่า ฝ่ายขาวมีแนวทางในการโจมตีฝ่ายดำได้มากกว่า มีโอกาสกินตัว และกดดันขุนดำจนถึงได้รุกจนได้ง่ายกว่าฝ่ายขาว ซึ่งภาษาหมากรุกเรียกว่า"เบียด"
-การเดินต่อไปอยู่ที่ความคิดเห็นในการเบียดของฝ่ายขาว ว่าจะเบียดอย่างไร จึงจะได้กินตัวและรุกดำให้จน
--------------------
>>>>>>>>
-ข้างบนเป็นเกมที่เกิดขึ้นจริง
รูปแรกเป็นตำแหน่งหมากก่อนจะเป็นรูปที่สอง เบี้ยดำยังคงบังการกดขุนของเรือดำอยู่
-ขาวได้เดินม้ามากินเบี้ยดำ ทำให้เรือดำเป็นลักษณะกดขุนฝ่ายขาวทันที
-เนื่องจากฝ่ายดำได้เดินเป็นตาต่อไป จึงใช้ความได้เปรียบของเรือกดขุนโดยเดินม้าจาก ค6-จ5 ทำให้ขุนขาวถูกเรือดำกดอย่างสมบูรณ์ และยังจะสามารถมีแนวทางเดินหลังจากนี้ได้อีกหลายแบบ ขึ้นอยู่กับตาเดินของขาวที่จะเดินตัวต่อไปเช่น ใช้เบี้ยกินม้าดำ หรือเดินขุนหนีตากด
-ถ้าใช้เบี้ยกินม้าดำแต้มจะไม่ซับซ้อนมากนัก แต่ถ้าเดินขุนหนีตากด จะมีแต้มสนุกและน่าสนใจเกิดขึ้น ลองเดินตัวและมองแนวทางต่อไปดูเองนะครับ
-ผมไม่อาจกล่าวละเอียดกว่านี้ได้ เพราะอาจละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นได้
กล่าวได้แต่ว่าทุกตาเดินต่อไปของขาว ทำให้เสียเปรียบมากขึ้นทุกตัว
--------------------

-รูปบนนี้ขาวได้เปรียบดำหลายอย่าง สามารถสร้างแท่นม้าโคนที่แถว 4 แต่ขาวไม่รีบร้อนกระทำ และนำเรือมาไว้ ก 4 ผูกโคน และกดขุนดำเพื่อสร้างความได้เปรียบเพิ่ม ทำให้มีแนวทางโจมตีดำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลองวางแผนโจมตีดำดูนะครับ
--------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งที่อยู่ของขุน
-นายสม บรมสุข อดีตแชมป์ 10 ปี ของประเทศไทยเคยกล่าวไว้ว่า "ใครเดินตัวหมาก เรือ ม้า โคน เม็ดและเบี้ยเก่ง หากลัวเกรงไม่ หากแต่กลัวคนที่เดินขุนเก่งเท่านั้น"
-ตำแหน่งของขุน จึงมีความสำคัญต่อการได้เปรียบเสียเปรียบเช่นกัน
-ขุนที่อยู่ในตำแหน่งปลอดภัย ถูกโจมตียาก ย่อมถือว่าได้เปรียบ
-ขุนที่มีโอกาสถูกโจมตีง่าย เพราะที่อยู่ไม่เหมาะสม ย่อมถือว่าเสียเปรียบ
-ในกรณีเกมใกล้จบ ตำแหน่งขุนที่เหมาะสม จะทำให้ไล่ได้ง่าย
--------------------

-รูปแรกนี้ เป็นจังหวะดำได้เดินครับ
-ดูเหมือนขาวได้เปรียบดำมาก แต่เนื่องจากตำแหน่งขุนขาวไม่เหมาะสม ดำจึงเดินขุน ฉ3-จ3
-ทำให้ขาวต้องหนีขุนอย่างเดียว เกมจึงเสมอกันไป
-ถ้าขาวเดินมาติดกินเรือ(มาอยู่ ข1) เรือดำจะเดินหนีไป ญ2 ขาวจะจนสถานเดียว ดังนั้นขาวจำเป็นเดินขุนไปมาเพื่อเสมอเท่านั้น ทั้งนั้เป็นผลมาจากตำแหน่งขุนที่เสียเปรียบนั่นเอง
--------------------

-รูปนี้เรือขาวพยายามไปยึดคลอง 7 แต่ดูแล้วไม่น่าจะยึดได้ถาวร
-นอกจากนี้ยังทำให้ดำขยายตัวหมากได้สะดวกขึ้น
-ตำแหน่งขุนขาวในขณะนี้เป็นตำแหน่งไม่ค่อยปลอดภัย
-และจากหมากลักษณะนี้ ดำเดินบียดฝ่ายขาวจนได้เปรียบมากขึ้น ในท้ายที่สุดก็เป็นฝ่ายเอาชนะไปได้
--------------------
*ตำแหน่งขุน มักแบ่งเป็นสามอย่างคือ
ก.ตำแหน่งขุนปลอดภัย
-มีความสำคัญมากในตอนต้นเกม ช่วงเปิดเกมและแปรทาง จะเน้นความปลอดภัยขุนให้มากที่สุด
ข.ตำแหน่งขุนไล่
-จะสำคัญในตอนกลางและปลายเกม ช่วงต่อสู้ เบียดและไล่
ค.ตำแหน่งขุนแปรตามรูปหมาก
-จะเน้นความคิดเห็นปรับตำแหน่งขุนเมื่อจำเป็น เปลี่ยนตำแหน่งขุนตามลักษณะหมาก แต่ก็ต้องรู้รูป รู้ตำแหน่งที่เขานิยมใช้กันด้วย จึงจะทำได้ดี
--------------------
ตำแหน่งขุนปลอดภัย
ที่นิยมใช้กัน
1. ตำแหน่งเดิม เรือจะไม่ต่อถึงกัน จึงมักทดแทนโดยการบุกรุก เกาะกุมให้หนัก และตวรตัดตัวโต เช่น เรือ และม้าลง เพื่อเป็นการผ่อนปรนเหตุฉุกเฉินสำหรับขุน อย่างรก็ตาม อาจเดินขุนบ้างตามโอกาส
ตำแหน่งขุนแบบนี้ นายสุรการ วงศ์นิล เป็นผู้นิยมใช้ ปัจจุบันนายสุชาติ ชัยวิชิต นำมาใช้โดยเดินขุนวนไปวนมา ทแยงขวา ทแยงซ้าย แล้วถอยหลังเมื่อถูกเรือกด
2. ตำแหน่งปีกซ้าย 2 ช่องริมที่ ข2 (ขาว)และ ช7(ดำ) เรือเอกมหารู้ ศรีธรรม เป็นผู้นำมาเล่นเสมอ ทำให้การพันตูกลางกระดานมีความสะดวกขึ้น โดยไม่ต้องพะวงถึงขุน โดยมากผู้เล่นม้าเทียมมักจะชอบตำแหน่งนี้
3. ตำแหน่งกลางกระดานที่ จ2 และ ง7 ซึ่งเป็นตำแหน่งที่นักเล่นม้าผูกมักจะชอบ แต่ถ้าเป็นฝ่ายเดินทีหลัง มักถูกโจมตีง่าย ทำให้ต้องเสียเวลาหลบขุนไปที่ ค8 และ ข7 อีก เป็นการเสียเวลาหลายครั้ง และมักเป็นเบี้ยล่างเพราะขุนถูกกดดันก่อน
4. ตำแหน่งกลางกระดานที่ ค2 และ ฉ7 เป็นตำแหน่งขุนที่พบว่านิยมใช้กันมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งมักใช้กับรูปม้าโยงขวา และมีผู้นำมาใช้ประสบความสำเร็จ จนได้เป็นแชมป์ขุนทองคำมาแล้วเช่นกัน
*ตำแหน่งขุนดังกล่าวข้างต้น เมื่อจะต่อสู้กัน บางคนจะเดินขุนหนีมาอยู่ที่ ช2 และ ข7 โดยยอมให้มีการต่อสู้บริเวณใกล้ขุนและหน้าขุน ซึ่งถ้าไม่ใช่แนวรับจรืงๆ จะอันตรายมาก หลายท่านจึงไม่แนะนำให้ขุนอยู่ในตำแหน่งดังกล่าว และการเดินดังกล่าวจะทำให้เดินช้ากว่าเดิมด้วยอีกทางหนึ่ง*
--------------------
ตำแหน่งขุนไล่
*คงต้องกลับไปดูหัวข้อเดิมในเรื่อง-- รูปรุกจนทั้งหมด รวมทั้งการไล่และหมากกลที่ควรรู้ --
--------------------
ตำแหน่งขุนแปรตามรูปหมาก
*จะเดินเลือกระหว่าง การเดินขุนเมื่อจำเป็น,การดึงตัวมาช่วย แลกกับการกินหมาก การรุกอย่างหนัก และการทำให้ฝ่ายตรงข้ามติดรูปจน
*ผู้ใช้ขุนลักษณะนี้ควรต้องชำนาญรูปหมาก รู้รูปแบบขุนข้างต้นแล้ว รวมทั้งการคำนวณทางเดินของขุนเก่ง หาทางหนี หาทางทุเลาการโดนโจมตีได้แม่น
*ตำราบางตำราแนะนำว่าไม่ควรเดินขุนเร็วไปในตอนเริ่มเกม เท่าที่อ่านดู ผมว่า็มีแนวทางเดินขุนแบบนี้เช่นกัน สังเกตว่าเป็นตำราที่ เน้นการโจมตีหนัก ขึ้นตัวใหญ่ไว มุ่งบุกหนัก แต่หน้าเบี้ยอาจไม่ค่อยสวย

*พูดถึงตำแหน่งการเดินขุนแบบนี้ ก็เพื่อไม่ให้ยึดติดรูปแบบเดิมๆเกินไป ทุกๆท่านสามารถปรุงแต่งปรับเอาเองได้ ขอแต่รู้พื้นฐานให้แน่นเท่านั้น


*ก็ให้เลือกตามชอบกันนะครับ ว่าจะเล่นแบบไหนระหว่าง
_หน้าเบี้ยสวย ค่อยๆเดิน ค่อยๆบีบรัด ค่อยๆสร้างตำแหน่งหมากใหญ่ที่ดี และพยายามให้ขุนปลอดภัย จะได้ไม่ต้องพะวงมาก เกมอาจไปอย่างช้าๆ แต่ได้ทดสอบสมาธิและความอดทนรอคอย ของทั้งสองฝ่าย
_หรือจะเล่นแบบมั่นใจว่าเดินขุนเก่ง คำนวญตารอดได้ดี เน้นตัวใหญ่วิ่งจิ๊ด เอาแต่เค้าโครงรูปหมาก บุกหนัก หน้าเบี้ยไม่สวย แต่สะใจวัยรุ่น
--------------------------------------------------------------------------------
-สำหรับหัวข้อข้างล่าง ผมถือว่าเป็นการได้เปรียบอีกแบบหนึ่ง แต่เป็นการได้เปรียบในลักษณะนามธรรม ดังนั้นอธิบายค่อนข้างยาก
-ต้องอาศัยดูการเล่นบ่อยๆ โดยมีความรู้พื้นฐานเรื่องการได้เปรียบเชิงรูปธรรมอยู่แล้วในใจ ดูบ่อยๆ ถอดหมากบ่อยๆ ในที่สุดจะเข้าใจได้เอง ขอแต่ให้ระลึกไว้ว่าเหล่านี้ก็คือความได้เปรียบเช่นกัน
*วิธีการเดิน(รูปแบบการเดิน และกลยุทธ)
*จังหวะ และลำดับการเดินตัวก่อนหลัง ที่ถูกต้อง (ทั้งการเข้าโจมตี หรือรับและป้องกันการโจมตี)
*รูปแบบที่ครงกับกลยุทธที่มีแนวปฏิบัติแน่นอน(รูปหมาก กลหมาก)
--------------------
ขอยกตัวอย่างจังหวะการเดินสักหนึ่งอัน ส่วนอีกสองอย่างจะค่อยๆคุยในหัวข้อต่อๆไป

-รูปนี้เคยเห็นมาแล้ว ซึ่งเป็นจังหวะดำได้เดินก่อน ทำให้ขาวทำได้อย่างมาก แค่ประคองให้เสมอเท่านั้น เผลอเดินผิดเป็นแพ้
-แต่ถ้าเป็นจังหวะขาวได้เดินก่อน ดำจะเป็นฝ่ายแพ้
-ดังนั้นจังหวะการเดินก็มีความสำคัญเช่นกัน

-โดยทั่วไปมักกล่าวกันว่า จังหวะได้ทำก่อนมักได้เปรียบ
-แต่ในบางครั้งการได้ทำก่อน ได้เดินก่อน กลับต้องมาแก้ทีเดิน เพื่อให้ได้จังหวะ ในการโจมตีครั้งสุดท้ายอีกรอบหนึ่ง ซึ่งไม่น่าจะดีนัก
-ดังนั้น ผมอยากให้ระลึกอีกหน่อยว่า จังหวะได้ทำก่อนนั้น ต้องเป็นการทำก่อน ที่ต้องสามารถได้ควบคุมการเดิน และการปฏิบัติของอีกฝ่ายหนึ่งด้วย จึงจะถือว่าได้เปรียบ
--------------------------------------------------------------------------------






การได้เปรียบเสียเปรียบ

การได้เปรียบเสียเปรียบ

การได้เปรียบ
-คือโครงสร้างที่เอื้อประโยชน์ต่อการเดินของฝ่ายเรา ทำให้ฝ่ายเราเดินได้ง่าย มีรูปแบบการเดินหลากหลาย สามารถเดินได้สะดวก ตามใจต้องการ
-คือโครงสร้างที่ทำให้ฝ่ายตรงข้ามเดินได้ยาก อึดอัด หาวิธีและรูปแบบการเดินได้จำกัด และในท้ายที่สุดก็ถูกรุกจน

การเสียเปรียบ
-คือโครงสร้างที่ทำให้ฝ่ายตัวเองเดินได้บาก มีวิธีทางและหนทางเดินที่จำกัด เดินได้ยาก อึดอัด และในท้ายที่สุดก็ทิ้งเกม และถูกรุกจน
-ในทางตรงข้าม อีกฝ่าย กลับสามารถเดินได้สะดวกขึ้นลงได้ตามใจชอบ


ความหมายที่แคบลงของคำว่า"การได้เปรียบเสียเปรียบ"
-เป็นความหมาย แบบรูปธรรม จะค่อนข้างเห็นภาพพจน์ดีกว่า เหมาะกับการทำความเข้าใจของผู้เริ่มฝึกหัด แต่ผู้เล่นที่แก่กล้า อาจคิดว่า ดูแล้วแข็งๆ ไม่ยืดหยุ่นต่อการสร้างความใหม่เท่าที่ควร เอาไว้ขยายความเองก็แล้วกันครับ เพราะผมเน้นมือใหม่มากกว่า

*เป็นโครงสร้างที่ ยึดพื้นที่การเดินได้มากกว่า (มีพิสัยการเดินและตำแหน่งเดินมากกว่า) ถ้าเป็นพื้นที่และตำแหน่งเดินบริเวณกลางกระดานจะมีตุณค่ามากกว่าริมกระดาน

*เป็นโครงสร้างที่ ทำให้ฝ่ายเขาตั้งรูปตั้งหมากตามต้องการไม่ได้ แต่เราทำได้สะดวก

*เป็นโครงสร้างที่ ขัดขวางการวางตำแหน่งหมากตัวใหญ่ของอีกฝ่าย แต่ไม่ขัดขวางการวางจำแหน่งของเรา และยังอื้อประโยชน์ต่อฝ่ายเราอีกต่างหาก

*เป็นโครงสร้างที่ กดดันการเคลื่อนไหว เพื่อบุกขึ้นมาของอีกฝ่าย(ป้องกันการขึ้นตัว ขยายตัว) แต่ฝ่ายเราบุกและขยายตัวได้ง่ายกว่า

*เป็นโครงสร้างที่ ปกป้อง คุ้มครองขุนของเรา โดยขุนสามารถหลบให้ปลอดภัย และเมื่อถึงเวลาอันควร ยังสามารถใช้ขุนได้ง่ายด้วย

*เป็นโครงสร้างที่ กดดันขุนของฝ่ายตรงข้าม และมีแนวโน้มจะรุก หรือรุกจนได้ง่าย

**เอาแบบเห็นภาพพจน์ที่สุด มันคือโครงสร้างหน้าเบี้ย+ตำแหน่งตัวใหญ่+แนวทางการขึ้นตัวขยายตัวเพื่อโจมตี**

ลักษณะที่เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ
-มารู้จักรูปแบบที่ถือว่าได้เปรียบหรือเสียเปรียบ เพื่อเป็นพื้นฐานการเดินให้ได้ผล ในเวลาข้างหน้านะครับ พิจารณาจาก
* คิดจากจำนวนตัวหมาก และ/หรือกำลังหมากโดยรวมซึ่งบางครั้งจำนวนตัวน้อยกว่า แต่กำลังการรุกรานกลับอาจมากกว่าก็ได้
*โครงสร้างหน้าเบี้ย
*ตำแหน่งหมากใหญ่
*ที่อยู่ขุน
*วิธีการเดิน(รูปแบบการเดิน และกลยุทธ)
*จังหวะ และลำดับการเดินตัวก่อนหลัง ที่ถูกต้อง
*รูปแบบที่ครงกับกลยุทธที่มีแนวปฏิบัติแน่นอน(รูปหมาก กลหมาก)
--------------------------------------------------------------------------------
กำลังหมากที่เดินได้
*อันนี้ก็ง่ายๆคือให้ดูจำนวนหมากและดูกำลังหมาก ที่สามารถเดินได้และปฎิบัติการ เพื่อการรุกรานได้ จะถือว่าได้เปรียบคือ
1.มีจำนวนตัวหมาก ที่ทำงานได้มากกว่า
2.มีกำลังหมากเพื่อรุกรานมากกว่า คือนับกำลังตามค่าของหมากโดยรวมนั่นเอง
--------------------------------------------------------------------------------
โครงสร้างหน้าเบี้ยที่ดี
*เบี้ยเก้า
*เบี้ยคู่(แนวนอน)..เป็นความหมายของเบี้ยเทียมไปในตัว
*เบี้ยผูก
*เบี้ยนอกเบี้ยใน
*เบี้ยสูง ไล่ตามตำแหน่งที่มีคุณค่าได้เปรียบจากมากไปน้อยดังนี้ สูงหน้าโคน>สูงหน้าเม็ด>สูงหน้าขุน>สูงหน้าม้า>สูงหน้าเรือหรือสูงริม
*สูงริมมักไม่นิยมกัน ยกเว้นมีจุดมุ่งหมายที่ดีกว่าคำว่าฝังเบี้ยสูง
--------------------------------------------------------------------------------
*เบี้ยเก้า
-ไม่ทราบที่มาของการเรียกคำนี้ แต่หมายถึงการเดินเบี้ย จ3-จ4 และเดินเม็ดไปอยุ่ที่ จ3

-ปัจจุบัน เห็นบางท่าน ใช้โคนขึ้นไปประจำที่แทนเม็ด ซึ่งอาจอนุโลมเรียกเบี้ยเก้าได้เช่นกัน
---------------------------------------------------------------------------------
*เบี้ยคู่(แนวนอน)
-หมายถึงคู่ในแนวนอน (ถ้าในแนวตั้งจะเรียกเบี้ยซ้อน ซึ่งถือว่าไม่ดี)
-การสร้างเบี้ยคู่นี้ อาจจะมาจากการเดินขึ้นไป หรือจากการกินตัด แล้วรวมหมากเข้ามาหากันก็ได้

-เบี้ยคู่ลักษณะนี้จะมีความหมายของเบี้ยเทียมไปในตัว ซึ่งในปลายกระดานจะมีประโยชน์ต่อการได้รุกจน
-นอกจากนี้ หน้าเบี้ยแบบนี้ยังหยุดการเดิน และการยึดแท่น จากโคนและม้าของอีกฝ่ายได้ แต่ป้องกันเรือได้ไม่ดีนัก(โดยเฉพาะตอนต้นเกม)
-การทำเบี้ยคู่ มักต้องใช้หมากตัวอื่นเข้าช่วย จึงจะปลอดภัยและรักษาหน้าเบี้ยไว้ได้
---------------------------------------------------------------------------------
*เบี้ยผูก
-อาศัยรูป ในเรื่องเบี้ยคู่ ซึ่งไม่ได้มีคู่เดียวนะครับ ลองสังเกตุดู จะมีเบี้ยที่เป็นโครงสร้างเบี้ยคู่หลายชุด แต่ชุดที่เดินหน้าไปและเกิดโครงสร้างที่เห็นชัดคือคู่ ง4+จ5

*เบี้ย ค3 ง4 เป็นเบี้ยที่ผูกกัน และอีกชุดคือ เบี้ย ฉ3 จ4
*เบี้ยผูกทำให้การถูกกินยากขึ้น แต่ถ้าระวังไม่ดี จะทำให้ฝ่ายตรงข้ามมีช่องทางเข้ามาก่อกวนได้
*เช่่น ช่อง ค4 และช่อง ฉ4 ต้องระวังการถูกทำลายแผงเบี้ย แล้วฝ่ายตรงข้ามยึดเป็นบ่อหรือโพรง ซึ่งจะอันตรายต่อการเดินตัวในภายหลังอย่างยิ่ง
---------------------------------------------------------------------------------
*เบี้ยนอกเบี้ยใน
-ความหมายคำนี้คือการได้ยึดครองพื้นที่ ที่มีพิสัยการเดินได้มากกว่านั่นเอง
- มีแนวคิดใหม่ๆว่า กลางกระดาน ทำให้หมากเดินได้เต็มความสามารถของตัวหมาก และควบคุมการเดิน การบุกได้ดีกว่า
-ทั้งนี้ไม่ควรยึดติดนะครับ ถ้ามีช่องทางอยู่ก็ใช้ช่องทางที่มีอยู่นั้นได้ แต่ถ้ามีให้เลือก ก็น่าจะพิจารณาเลือกการคุมพื้นที่กลางกระดาน มากกว่าเลือกคุมพื้นที่ริมกระดานครับ

---------------------------------------------------------------------------------
*เบี้ยสูง
-คือเบี้ยที่ไปอยู่ในตำแหน่งสูงกว่าแนวกลางกระดาน คือแถวนอนที่ 5 (เกินกว่าแถว 5 มันเปลี่ยนเป็นเบี้ยหงายไปแล้วครับ)
-ถ้ายึดตำแหน่งได้ถาวรจะมีกำลังในการขัดขวางการขึ้นตัว ตั้งรูปและขยายตัวของอีกฝ่ายได้มาก บางตำแหน่งสูงยังกดดันที่จะโจมตีฝ่ายตรงข้ามอีกด้วย
-ทั้งนี้กำลังและคุณค่าในการขัดขวางดังกล่าว ถือว่า เรียงตามคุณค่ามากไปน้อยคือ คุณค่าได้เปรียบจากมากไปน้อยดังนี้ สูงหน้าโคน>สูงหน้าเม็ด>สูงหน้าขุน>สูงหน้าม้า>สูงหน้าเรือหรือสูงริม
-ข้างล่างนี้คือรูปเบี้ยที่ถือว่าสูง

------------------
สูงหน้าโคน
-เป็นเบี้ยสูงที่ดีที่สุด
-ลองพิจารณาคุณค่าของการกดดัน และขัดขวางการขึ้นตัวเม็ด โคน ม้า ฝ่ายตรงข้ามดุนะครับ

-------------------
สูงหน้าเม็ด
-เป็นเบี้ยสูงที่มีคุณค่า แต่น้อยลงมา

--------------------
สูงหน้าขุน

--------------------
สูงหน้าม้า

--------------------------------------------------------------------------------
*เบี้ยรุม
-คือเบี้ยด้านนั้นๆ มีจำนวนมากกว่าเบี้ยของคู่ต่อสู้

โครงสร้างหน้าเบี้ยที่ไม่ดี
*เบี้ยกระจาย(ฟันหลอ) ,เบี้ยแยก(เบี้ยลอย)
*เบี้ยซ้อน
*เบี้ยขัดตาเดิน
---------------------------------------------------------------------------------
*เบี้ยกระจาย(ฟันหลอ) ,เบี้ยแยก(เบี้ยลอย)

-ดูจากรูป จะเห็นฝ่ายขาวมีเบี้ยหลายตัวที่ไม่รวมกลุ่ม (เบี้ย ก3 ค4)จะเรียกเบี้ยลักษณะนี้ว่า เบี้ยกระจาย ,เบี้ยฟันหลอ ,เบี้ยแยก,เบี้ยลอย จะเรียกไหนก็ได้
-โครงสร้างเบี้ยของเบี้ยขาวแบบนี้ เป็นโครงสร้างที่ขาดคำว่า "แผงหน้าเบี้ย" ทำให้อานุภาพของการรวมกลุ่มหายไป
-จะเห็นว่าถึงแม้จำนวนตัวจะไม่ต่างกับเบี้ยดำ แต่เบี้ยฝ่ายขาวดูไม่แข็งแรงในแง่การป้องกันตัวและการป้องกันพื้นที่ รวมทั้งสามารถถูกจับกิน และถูกบุกทำลายให้สูญเสียได้ง่าย
-ในช่วงตอนเริ่มเกม พยายามอย่าให้ี้เกิดโครงสร้างแบบนี้ จะทำให้สูญเสียกำลังหมาก และเดินยากในภายหลัง
--------------------------------------------------------------------------------
*เบี้ยซ้อน

-เบี้ยขาวในช่อง ก และช่อง ช เป็นเบี้ยซ้อน
-เบี้ยซ้อน จะทำให้หน้าเบี้ยเป็นลักษณะเบี้ยลอยที่ขาดความคุ้มครอง และขาดกำลัง
-เบี้ยซ้อนยังทำให้ สูญเสียกำลังหมากที่จะใช้ประโยชน์ เพราะจะมีหนึ่งตัว ไม่สามารถใช้งานได้
-ในช่วงตอนเริ่มเกม พยายามอย่าให้ี้มีเบี้ยซ้อน เพราะจะทำให้การเดินติดขัดภายหลัง
--------------------------------------------------------------------------------
*เบี้ยขัดตาเดิน

-ดูหมากฝ่ายขาวที่ช่อง จ ถึง ญ
-ขณะนี้อยู่ในระยะเตรียมความพร้อม ทั้งสองฝ่ายวางแผนแปรรูปแปรทาง และขยายตัวหมากเพื่อชิงโครงสร้างที่ได้เปรียบ (คือโครงสร้างหน้าเบี้ย+ตำแหน่งตัวใหญ่+แนวทางการขึ้นตัวขยายตัวเพื่อโจมตี คงจำกันได้นะ)
-ขาวมีแนวคิดจะเดินเบี้ย ฉ3-ฉ4 เพื่อทำโครงสร้างเบี้ยคู่ แต่ในแง่การขยายตัว กลับพบว่า เบี้ย ฉ4 ทำให้พิสัยการเดินเพื่อยึดตำแหน่งของม้า หายไปเป็นเบื้องต้น และถ้ามองเป็นชั้นหลายชั้นขึ้นไป ยังทำให้เม็ดและโคนไม่สามารถเดินไปตำแหน่งที่สูงขึ้นได้
-ดังนั้น เบี้ย ฉ3-ฉ4 จึงไม่ดีเท่าที่ควร เพราะ เบี้ย ฉ4 เป็นเบี้ยขัดตาเดินของหมากฝ่ายตัวเอง ทำให้เมื่อเทียบคุณค่าเบี้ยคู่ที่จะเกิด กับ คุณค่าการขยายตัวของหมากตัวใหญ่ มีไม่เท่าที่ควร ฝ่ายขาวจึงไม่ควรเดินหมากตัวนี้
-หมากที่จะเดินในตำแหน่งนี้ จึงควรเป็น เม็ด จ3-ฉ4 จะดีกว่า เพื่อเดินไปยังตำแหน่งที่สูงขึ้น และยังเปิดโอกาสให้ ม้าและโคนมีทางเดินและการขยายตัวที่ดีกว่าเดิมอีกทางหนึ่ง
-อย่าลืมมองหมากตัวอื่นๆที่เดินได้ หรือมีโอกาสเดินได้ เพราะอาจมีค่าการเดินที่เหมาะสมกว่า ให้ลองฝึกมองหมากหลายๆตัว แล้วเลือกที่ดีที่สุดในสายตาตัวเอง และเดินตัวนั้นออกไป





ref:http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=panee&group=35