House of Thai Chess
Welcome อาคันตุกะ | RSS
Site menu
Calendar
«  July 2012  »
SuMoTuWeThFrSa
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031
Main » 2012 » July » 27 » เทคนิค
8:12 AM
เทคนิค
๑.จะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับกระดานหมากรุกเป็นอย่างดี เช่น
  ก.พื้นที่สำคัญของกระดานคือ กลางกระดาน ซึ่งได้แก่ตา,ง๔กับ,จ๔และ,ง๕กับจ๕ เพราะเป็นจุดยุทธศาสตร์ของการเล่น
  ข.กระดานจะแบ่งออกเป็นสี่ส่วน คือตาแปดตาในแถวแนวนอนและตาแปดตาในแถวแนวตั้ง ซึ่งประกอบด้วยแนวนอนสี่แถวของฝ่ายขาวกับแนวนอนสี่แถวของฝ่ายดำ และแนวตั้งสี่แถวทางด้านซ้ายมือกับแนวตั้งทางด้านขวามือ จึงสรุปได้ว่ากระดานเเบ่งเป็นสี่ส่วน
๒.จะต้องมีความเข้าใจในประสิทธิภาพของตัวหมากรุกแต่ละตัวเช่น
  ก.เมื่อ เรือ อยู่กลางกระดานในตาที่ว่างเปล่า เรือสามารถเดินได้๑๔ตา
  ข.เมื่อ ม้าอยู่กลางกระดานจะสามารถเดินได้๘ตา
  ค.เมื่อ โคนอยู่กลางกระดานจะเดินได้๕ตา
  ง.เมื่อเม็ดอยู่กลางกระดานจะเดินได้๔ตา
  จ.เบี้ยหนึ่งตัวจคุมพื้นที่ได้สองตา(ยกเว้นเบี้ยริม)
 
จากหลักการเหล่านี้จึงประเมินค่าของตัวหมากแต่ละตัวได้ดังนี้
เรือ มีค่าเท่ากับ๕
ม้า-๔
โคน-๓
เม็ด-๒
เบี้ย-๑
ซึ่งตัวหมากทั้งหมดนี้ศักยภาพจะลดลงเมื่ออยู่ริมกระดานหรือตามุม
 

๓.จะต้องมีความเข้าใจในการโอบต้อนขุนคู่ต่อสู้(วิธีไล่)หรือมีความชำนาญซึ่งจะประกอบด้วย
ก.การไล่ด้วยเบี้ยหงาย๓ตัวและขุน ในขณะที่คู่ต่อสู้เหลือขุนเพียงตัวเดียว (นับ๖๔)
ข.เบี้ยหงาย๒ตัว(เทียม),ม้า๑ตัวและขุน คู่ต่อสู้เหลือขุนตัวเดียว(นับ๖๔)
ค.เบี้ยหงาย๒ตัว(ผูกกัน),ม้า๑ตัวและขุน(นับ๖๔)
ง.เบี้ยหงาย๑ตัว,โคน ๑ตัวและขุน(นับ๔๔)
จ.เบี้ย๑ตัว,ม้า๒ตัวและขุน(นับ๓๒)
ฉ.โคน๒ตัวและขุน(นับ๒๒)
ช.เรือ๑ตัวและขุน(นับ๑๖)
ญ.เรือ๒ตัวและขุน(นับ๘)
จากทั้งหมดนี้ถ้าผู้ที่กำลังฝึกฝนการเล่นมีความเข้าใจและฝึกฝนให้เกิดความชำนาญจะมีความเข้าใจมากขึ้นตามลำดับ (ในแต่ละขั้นตอนของการฝึกฝนหากผู้สอนเสริมเทคนิคเข้าไปอีกเกือบจะไม่ต้องแนะอะไรอีกเลย)ทั้งนี้อยู่ที่การเรียนการสอนอย่างมีระบบนั่นเอง
๔.จะต้องรู้โครงสร้างหน้าเบี้ยที่ดีในการเปิดหมากทั้งฝ่ายขาวและฝ่ายดำ
๕จะต้องจดบันทึกการเดินหมากทุกครั้งของการเล่น(ทุกเกม)
ref: หมากรุกไทยปี๒๐๐๐.ต๋อ ปากน้ำ.2000
 

หมากรุกสำคัญทุกช่วงนั่นแหละครับ สมมติว่าเราแบ่งเกมการเล่นออกเป็น 3 ช่วง คือ
1. ช่วงเปิดหมาก (Opening)
2. ช่วงกลางกระดาน (Middle game)
3. ช่วงปลายกระดาน (End game)
ช่วงเปิดหมากถ้าเราทำได้ดีจะช่วยให้ชิงความได้เปรียบคู่ต่อสู้ แต่ไม่ได้หมายความว่าชนะแล้ว เพราะต้องเล่นหมากกลางกระดาน และหมากปลายกระดานให้ดีด้วยจึงจะชนะ
บ่อยครั้งที่การเปิดหมากได้ดี แต่เล่นหมากกลางหระดานไม่ดี ทำให้พลิกกลับมาเป็นฝ่ายแพ้ไปก็มี
"แต่ถ้าเป็นการแข่งขันระดับเซียนแล้วละก็ ถ้าเปิดหมากออกมาเป็นรองมากจะทำให้เป็นฝ่ายแพ้ไปได้เลยครับ"
ทั้งนี้เพราะพวกมือเซียนมักจะมีหมากกลางกระดาน และหมากปลายกระดานที่รู้เท่าทันกัน
 
 
1 : ช. เทคนิคของเบี้ย นอกจากจะพบกับเบี้ยด้วยกันแล้ว ยังมีหน้าที่อื่นๆ อีก และนับว่าจะมีความสำคัญยอดเยี่ยมที่จะลืมนึกถึงเสียมิได้ คือหน้าที่
 
1. สกัดกั้นการเดินของหมากตัวโตของฝ่ายตรงข้าม อย่างได้ผลทั้งชั่วคราวและถาวร เช่น เบี้ยสกัดโคน สกัดม้า สกัดเม็ด และหรือห้ามตาเรือวางเป็นบางตาได้
 
2. สกดตำแหน่ง หมายถึงสกดการแปรขบวน หรือชักนำความเสียหายมาให้ เช่นสกดจุดมรณะ สกดทัพ และอื่นๆ เหล่านี้ ต้องได้มาจากความชำนาญในการถอดหมาก และศึกษาจากหมากหลายกระดาน ญ. เบี้ยเสียสละ หน้าที่สุดท้าย นอกจากทำหน้าที่คุ้มหมากตัวโตแล้ว ยังทำหน้าที่เสียสละเบี้ย เพื่อเอาประโยชน์คุ้มค่าด้านอื่นๆ เช่นดึงกำลังให้ห่างไกล เปิดช่องทะลวง เป็นต้น ตำแหน่งหน้าที่สำคัญของเรือโดยสรุป เป็น
 
3 สถาน ดังนี้ :- ก. ขุนยังไม่เดิน หมายถึงเรือยังไม่ติดต่อคุ้มกัน ชิงเดินหมากเพื่อการยึดครองพื้นที่และครองอำนาจเสียก่อน ทั้งนี้เรือลำเดียวสามารถทำหน้าที่ได้เกือบสมบูรณ์ เช่น ในฐานะ
1. กดขุนหรือกดตัวหมากฝ่ายตรงข้ามที่ซ้อนกันหรือขาดตัวคุ้ม
2. ส่งกำลังเบี้ย เพื่อทำเบี้ยสูงจริง โดยต้องเลื่อนเรือย้ายตำแหน่ง
3. คุ้มกันตัวหมากฝ่ายเดียวกัน
4. ยึดครองทางเรือ เพื่อใช้ประโยชน์ระหว่างยึดครอง
5. เดินเรือขึ้นไปใช้ประโยชน์ทางขวาง จะเป็นด้วยไปกดตามขวาง หรือคุ้มกันตามขวาง หรือขึ้นไปต่อเรือ เพื่อเอาทางหมากก็ได้ ข. ขุนเดินแล้ว หมายถึงเรือถึงกันแล้ว ก็เป็นการเล่นหมากรุกง่ายเข้าหน่อย เพราะไม่ต้องใช้สมองมากนัก และเหมาะสำหรับการแข่งขันที่หาเสมอเป็นหลักใหญ่ จึงให้เรือมีฐานะปลอดภัย ฉะนั้นเรือจึงมีอำนาจมากขึ้นอีกดังนี้
1. สามารถยึดคลองได้เด็ดขาด
2. สามารถออกเรือ 2 ลำได้ และสามารถไล่บังคับต่อเรือ-ตัวป้องกันหรือเรือตัวดีของฝ่ายตรงข้ามได้
3. สามารถทำการซ้อนเรือได้ (สองปล่องหากมีโอกาส)
4. การกดด้วยเรือสองลำ สามารถกินตัด หรือกินแย่งได้
5. การกดในทางขวาง 2 ลำ สามารถกินแย่งหรือกินแบ่งได้ ค. ตำแหน่งที่ดีที่สุดของเรือ คือที่ริมกระดานด้านใดด้านหนึ่ง อันดับสอง(ชั่วคราว) คือตำแหน่งปีกช่อง ข หรือ ช เพื่อส่งกำลังทำเบี้ยสูง อันดับสาม คือตำแหน่ง ค หรือ ฉ ในตอนต้นกระดาน
 
อันดับต่อไปต้องตัดสินใจระหว่างช่องขุน หรือเม็ด ข้อสำคัญ หากไม่แน่ใจแล้วอย่าเดินเรือส่งเดช จงเดินแต่ละครั้งให้มีความหวังสมบูรณ์ มิฉะนั้นให้พิจารณาตัวอื่นก่อน หรือรอคอยจนได้โอกาส
 
ตำแหน่งหน้าที่สำคัญของขุน "ใครเดินตัวหมาก เรือ ม้า โคน เม็ดและเบี้ยเก่ง หากลัวเกรงไม่ หากแต่กลัวคนที่เดินขุนเก่งเท่านั้น" นี่เป็นถ้อยคำของนายสม บรมสุข อดีตแชมป์ 10 ปี ของประเทศไทยกล่าวไว้ มันเป็นความจริงอย่างยิ่งทีเดียว การเดินขุนเก่ง จำแนกออกเป็นสองสถานคือ :-
 
ก. การตัดสินใจระหว่างการหนีขุนก่อนกำหนด หรือดึงกำลังมาช่วยมากไป กับการที่จะกินหมากหรือรุกรานฝ่ายตรงข้ามให้ถึงแก่น หรือติดจนนั้น จะต้องมีความกล้าผนวกกับการคำนวณล่วงหน้า ถึงทางหนี แม่นยำและหนีได้เพียงตาเดียว หรือช่องแคบนิดเดียวก็พอ เพื่อแลกกับการกินหรือตัดหมากเพื่อชัยชนะปลายกระดาน ข้อนี้เป็นการคำนวณทางเดินของขุนเก่ง แม้จะต้องถอยเอาหมากตัวใดมาปิดให้เสียเปล่าเสียก่อนก็ตาม
 
ข. ตำแหน่งปลอดภัยของขุน เซียนหลายคน หลายรุ่น หลายสมัย ต่างให้ความเห็นคล้ายกันบ้างต่างกันบ้าง แต่เท่าที่ได้สังเกตมาประมาณ 40 กว่าปีนั้น พอประมวลเหตุการณ์ได้บ้างดังนี้ :-
 
1. ตำแหน่งเดิม ซึ่งทำให้เรือไม่ต่อถึงกัน แต่ก็ทดแทนโดยการบุกรุก เกาะกุมให้หนัก โดยฉวยโอกาสได้เปรียบทีเดิน กามบุกรุกไล่จะทำให้ต้องตัดตัวโต เช่น เรือ และม้าลงได้ เพื่อเป็นการผ่อนปรนเหตุฉุกเฉินสำหรับขุน อย่างรก็ตาม ไม่ใช่จะไม่เดินขุนเลย หากแต่เดินตามโอกาส เช่นจะใช้เรือหรือขุนไปทำหน้าที่เป็นต้น นายสุรการ วงศ์นิล เป็นผู้นิยมใช้มาก่อน ปัจจุบัน นายสุชาติ ชัยวิชิต เป็นผู้ใช้เดินขุนวนไปวนมาทแยงขวา ทแยงซ้าย แล้วถอยหลังเมื่อถูกเรือกด และปัจจุบันนี้เซียนชั้นยอดก็นิยมเดินกันบ่อยในเกมสำคัญๆ แม้ในการแข่งขัน
 
2. ตำแหน่งปีกซ้าย 2 ช่องริมที่ ข2 และ ช7 นั้น เรือเอกมหารู้ ศรีธรรม เป็นผู้เล่นมาเสมอ ทำให้การพันตูกลางกระดานมีความสะดวกขึ้นโดยไม่ต้องพะวงถึงขุน โดยมากผู้เล่นระดับม้าเทียมมักจะชอบตำแหน่งนี้
 
3. ตำแหน่งกลางกระดานที่ จ2 และ ง7 ซึ่งเป็นตำแหน่งที่นักเล่นม้าผูกมักจะชอบ แต่การถูกตีโต้เมื่อเป็นฝ่ายเดินทีหลัง มีมากทำให้ต้องเสียเวลาหลบขุนไปที่ ค8 และ ข7 อีก ทำให้เสียเวลาหลายครั้ง และมักเป็นเบี้ยล่างได้ เนื่องจากขุนถูกไล่ล่าก่อน 4. ตำแหน่งขุนหนี ดังได้กล่าวแล้วในข้อ 3 ข้างต้นนั้น บางคนนิยมเอาขุนหนีระหว่างทางมาก่อนกำหนด เพื่อมาอยู่ที่ ช2 และ ข7 เสียก่อน ยอมต่อสู้ติดพันบริเวณใกล้ขุนและหน้าขุน โอกาสชนะหายาก อย่างดีก็เพียงเสมอเท่านั้น ค. ตำแหน่งขุนไล่ มีปัญหาเล็กน้อยเกี่ยวกับขุนไล่ นับศักดิ์หมากต่างๆ ดังเช่น
 
1. การไล่หมากเรือลำเดียว ขุนต้องประชิดเข้าไว้ และยึดตำแหน่งทแยงจากมุมเข้าไว้(อย่าเอาเรือไปไล่แทน) จะทำการไล่ไม่จนภายในกำหนด
2. การไล่หมากม้า 2 ตัว เบี้ยหงายไม่ถูกมุม ก็ต้องยึดตำแหน่งทแยงจากมุมไว้เหมือนกัน
3. การไล่ม้า 1 ตัว เบี้ยหงาย 2 ตัวไม่ถูกมุม ครั้งแรกก็ต้องยึด ตำแหน่งทแยงมุมก่อน แต่เวลาจะจนต้องเปลี่ยนตำแหน่งมาอยู่ริมกระดาน
4. การไล่ม้า 1 ตัว เบี้ยหงายถูกมุม 1 ตัวนั้น ขุนต้องอยู่ตาม้าจากมุม ส่วนแก้ที ก็ต้องย้ายขุนไปตาม้าถูกมุมเหมือนกัน
5. การไล่มวยโคนเบี้ยถูกมุมนั้น ขั้นต้นก็มาจากตำแหน่งขุนปลาดุกยักเงี่ยงก่อนแล้วจึงแก้ที เอาขุนโยกเข้าตำแหน่ง หากไม่ใช้ปลาดุกยักเงี่ยงก็ต้องใช้ตำแหน่งขุนปลาดุกยักเงี่ยงสำหรับแก้ทีเหมือนกัน และ
6. การไล่มวยโคนเม็ดไม่ถูกมุม นั้น ขุนจำเป็นต้องตั้งที่ตำแหน่งจะรุกจนเสมอ (หรือตำแหน่งม้าเตี้ยจากมุม)
 
ref: http://www.gotoknow.org/blogs/posts/245478?
Views: 1282 | Added by: chef | Rating: 0.0/0
Total comments: 0
Only registered users can add comments.
[ Registration | Login ]
Entries archive
Our poll
Rate my site
Total of answers: 35
Site friends
  • Create a free website
  • Online Desktop
  • Free Online Games
  • Video Tutorials
  • All HTML Tags
  • Browser Kits
  • Statistics

    Total online: 1
    Guests: 1
    Users: 0